เมนู

แต่ในที่นี้ พึงทราบว่าหมายเอาลำดับ 3 ประการ คือลำดับแห่ง
การเกิดขึ้นแห่งญาณ 14, ลำดับแห่งการปฏิบัติ, และลำดับแห่งเทศนา
เพราะแสดงตามลำดับด้วยสามารถแห่งลำดับทั้ง 2 นั้น.

15. อรรถกถาวัตถุนานัตตญาณุทเทส


ว่าด้วย วัตถุนานัตตญาณ


นามรูปววัตถานญาณ ท่านยังมิได้กล่าวไว้ ฉะนั้นเพื่อที่จะแสดง
ประเภทแห่งนามรูป 5 อย่างในบัดนี้ ท่านจึงยกเอาญาณ 5 มีคำว่า
อชฺฌตฺตววตฺถาเน ปญฺญา วตฺถุนานตฺเต ญาณํ ปัญญาในการ
กำหนดธรรมภายใน เป็นวัตถุนานัตตญาณ
ขึ้นแสดง ณ บัดนี้.
จริงอยู่ในนามรูปทั้งสิ้นที่ท่านกล่าวแล้ว นามรูปใดอาจที่จะ
กำหนดได้, และนามรูปใดควรกำหนด, ก็จักกำหนดนามรูปนั้น. ส่วน
นามที่เป็นโลกุตระ ไม่อาจที่จะกำหนดได้ เพราะยังไม่บรรลุ และไม่
ควรกำหนด เพราะนามที่เป็นโลกุตระไม่ใช่อารมณ์ของวิปัสสนา.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อชฺฌตฺตววตฺถาเน-ในการกำหนด
ธรรมภายใน
ความว่า ชื่อว่า อัชฌัตตะ เพราะอรรถว่า ทำตนให้
เป็นอธิการเป็นไปโดยประสงค์นี้ว่า เราเมื่อเป็นไปอยู่อย่างนี้ ก็จักถึง
การยึดมั่นว่าเป็นอัตตาตัวตน.

ก็ศัพท์ว่า อชฺฌตฺต นี้ ปรากฏในอรรถ 4 อย่างคือ โคจรัช-
ฌัตตะ, นิยกัชฌัตตะ, อัชฌัตตัชฌัตตะ, วิสยัชฌัตตะ.
อันอรรถะในโคจรัชฌัตตะนี้ ย่อมปรากฏในบาลีอาคตสถานว่า
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุนั้นตั้งจิตภายในให้มั่นในสมาธินิมิตข้างต้นนั้นแล1...
และ เป็นผู้ยินดีแล้วในธรรมภายใน เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว2 ดังนี้
เป็นต้น.
อรรถะในนิยกัชฌัตตะ ย่อมปรากฏในบาลีอาคตสถานว่า มี
ความผ่องใสแห่งจิตในภายใน3, หรือ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ภายในอยู่4 ดังนี้เป็นต้น.
อรรถะในอัชฌัตตัชฌัตตะ ย่อมปรากฏในบาลีอาคตสถานว่า
อายตนะภายใน 65, และ สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นภายใน6ดังนี้
เป็นต้น.
อรรถะในวิสยัชฌัตตะ ย่อมปรากฏในบาลีอาคตสถานว่า ดูก่อน
อานนท์ ก็วิหารธรรมอันตถาคตตรัสรู้แล้วนี้แล คือตถาคตเข้าสุญญตะ
ภายใน เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวงอยู่7 ดังนี้เป็นต้น. อธิบายว่า
วิสัยชฌัตตะนี้ ย่อมปรากฏในอรรถว่า อิสริยฐานะ. จริงอยู่ ผลสมาบัติ
1. ม.อุ. 14/357. 2. ขุ.อ. 25/35. 3. ที.สี. 9/128.
4. ที. มหา. 10/290. 5. ม.อุ. 14/811. 6. อภิ.สํ 34/1.
7. ม.อุ. 14/346.

ชื่อว่าเป็นอิสริยฐานะของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. แต่ในที่นี้ พึงเห็นว่า
หมายเอาในอรรถว่า อัชฌัตตัชฌัตตะ. ในการกำหนดอัชฌัตตะเหล่า
นั้น ชื่อว่า อชฺฌตฺววตฺถาเน - ในการกำหนดอัชฌัตตะ.
คำว่า วตฺถุนานตฺเต ได้แก่ ในความเป็นต่างๆ แห่งวัตถุทั้งหลาย,
อธิบายว่า ในวัตถุต่าง ๆ.
ในที่นี้ ถึงแม้ภวังคจิตอันเป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณ คือชวนะ
ท่านก็เรียกว่า วัตถุ เพราะเป็นฐานที่เกิดขึ้นดุจหมวด 5 แห่งปสาทะ
มีจักขุปสาทะเป็นต้นฉะนั้น. แม้อาวัชชนจิต ก็พึงทำให้เป็นที่อาศัย
ของวัตถุนั้นได้เหมือนกัน.

16. อรรถกถาโคจรนานัตตญาณุทเทส


ว่าด้วย โคจรนานัตตญาณ


คำว่า พหิทฺธา - ภายนอก ความว่า ในอารมณ์แห่งญาณ
เหล่านั้นอันมีในภายนอก จากธรรมอันเป็นอัชฌัตตัชฌัตตะ 6
คำว่า โคจรนานตฺเต - ในความต่าง ๆ แห่งโคจร ได้แก่
ในความต่าง ๆ แห่งวิสยะคืออารมณ์.